เมนู

สัญญาเวทยิตกถา ที่ 3



[1625] สกวาที บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ พึงกระทำกาละ
คือตาย หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ผัสสะอันเกิดในสมัยมีความตายเป็นที่สุด เวทนาอัน
เกิดในสมัยมีความตายเป็นที่สุด สัญญาอันเกิดในสมัยมีความตายเป็นที่สุด
เจตนาอันเกิดในสมัยมีความตายเป็นที่สุด จิตอันเกิดในสมัยมีความตาย
เป็นที่สุดของบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มีอยู่หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต อันเกิดในสมัยมี
ความตายเป็นที่สุด ของบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่มีหรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ผัสสะ สัญญา เจตนา จิตอันเกิดในสมัยมี
ความตายเป็นที่สุด ของบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่มี ก็ต้องไม่
กล่าวว่า บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ พึงทำกาละ ดังนี้.
[1626] ส. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ พึงทำกาละ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ของบุคคลผู้เข้า
สัญญาเวทยิตนิโรธ มีอยู่หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ของบุคคลผู้เข้า
สัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ไม่มีผัสสะ มีการทำกาละ บุคคลไม่มีเวทนา
มีการทำกาละ ฯลฯ บุคคลผู้ไม่มีจิต มีการทำกาละ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลผู้มีผัสสะ มีการทำกาละ ฯลฯ บุคคลผู้มีจิต
มีการทำกาละ มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า บุคคลผู้มีผัสสะ มีการทำกาละ ฯลฯ บุคคลผู้
มีจิต มีการทำกาละ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ
พึงทำกาละ ดังนี้.
[1627] ส. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ พึงทำกาละ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ยาพิษพึงเข้าไป ศาตราพึงเข้าไป ไฟพึงเข้าไป ใน
กายของบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ยาพิษไม่พึงเข้าไป ศาตราไม่พึงเข้าไป ไฟไม่พึง
เข้าไป ในกายของบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ยาพิษไม่พึงเข้าไป ศาตราไม่พึงเข้าไป ไฟ
ไม่พึงเข้าไป ในกายของบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ก็ต้องไม่กล่าวว่า
บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ พึงทำกาละ.
[1628] ส. บุคคลเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ พึงทำกาละ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.
ส. ยาพิษพึงเข้าไป ศาตราพึงเข้าไป ไฟพึงเข้าไป ใน
กายของบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. มิได้เข้านิโรธ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. บุคคลเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่พึงทำกาละ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. นิยามอันเป็นเหตุนิยมว่า บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ
ไม่พึงทำกาละ หรือ ?
ส. ไม่มี.
ป. หากว่า นิยามอันเป็นเหตุนิยมว่า บุคคลเข้าสัญญา-
เวทยิตนิโรธไม่พึงทำกาละ ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลเข้าสัญญาเวท-
ยิตนิโรธ ไม่พึงทำกาละ.
[1629] ส. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ ไม่พึงทำกาละ
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. นิยามอันเป็นเหตุนิยมว่า บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุ-
วิญญาณ ไม่พึงทำกาละ มีอยู่หรือ ?
ป. ไม่มี.
ส. หากว่า นิยามอันเป็นเหตุนิยมว่า บุคคลผู้พรั่งพร้อม
ด้วยจักขุวิญญาณไม่พึงทำกาละ ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้พรั่งพร้อม

ด้วยจักขุวิญญาณ ไม่พึงทำกาละ.
สัญญาเวทยิตกถา ที่ 3 จบ

อรรถกถาตติยสัญญาเวทยิตกถา



ว่าด้วย สัญญาเวทยิตนิโรธที่ 3



บัดนี้ ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายราชคิริกะทั้งหลาย
ว่า แม้ผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติพึงทำกาละได้ โดยถือหลักว่า
ชื่อว่าความแน่นอนไม่มีเพราะความที่สัตว์ทั้งหลายมีความตายเป็นธรรมดา
ดังเช่นคำว่า ผู้โน้นตาย ผู้โน้นยังไม่ตาย ดังนี้ คำถามของสกวาทีเพื่อ
แสดงถึงเวลาตายและมิใช่เวลาตาย เพราะความที่บุคคลแม้เข้าสมาบัติ
ก็มีความตายเป็นธรรมดา คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น
สกวาทีจึงกล่าวกะปรวาทีนั้นว่า ผัสสะอันเกิดในสมัยมีความตายเป็น
ที่สุด
เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยอาการที่ว่าผัสสะอันเกิดในเวลาที่มีความตาย
เป็นธรรมดา ชื่อว่าพึงมีแก่ผู้กระทำกาละโดยอาการนั้นหรือ.
ถูกถามว่า บุคคลผู้ไม่มีผัสสะมีการกระทำกาละ เป็นต้น ปรวาที
ตอบปฏิเสธโดยหมายเอาสัตว์ที่เหลือ คือนอกจากผู้เข้าสมาบัตินั้น.
ถูกถามคำว่า ยาพิษพึงเข้าไป เป็นต้น ก็ตอบปฏิเสธโดยหมาย
เอาอานุภาพแห่งสมาบัติ. แต่ตอบรับรองในครั้งที่ 2 โดยหมายเอาสรีระ
ปกติ. ก็ถ้าเมื่อความเป็นเช่นนั้นมีอยู่ ชื่อว่าอานุภาพแห่งสมาบัติก็ไม่มี
ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ สกวาทีจึงซักปรวาทีว่า มิได้เข้านิโรธหรือ.
คำถามว่า บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่พึงทำกาละหรือ
เป็นของปรวาที. ในปัญหาของปรวาทีว่า นิยามอันเป็นเหตุกำหนด